วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

การกำหนดขอบเขตการปริ้นใน CAD

การใช้งาน AutoCAD เพื่อกำหนดขอบเขตในการ Print อย่างง่าย โดยไม่ต้องไปกำหนด Layout ดังนี้


 1. เปิดไฟล์งานขึ้นมาก่อน  ในกรณีนี้ไฟล์ตัวอย่างมี แบบตึกอยู่หลายภาพอยู่ในไฟล์เดียวกัน ทำให้เวลา Print ออกมาแล้วไม่สามารถเลือกตรงส่วนที่ต้องการได้



2.กดที่ปุ่มด้านซ้ายบนรูปตัว A เลือกคำสั่ง Prin
3. หน้าต่าง Plot-Model มีส่วนประกอบตามภาพ


 4. หน้าต่างแบบเต็ม  กดที่ ปุ่ม "Window < " เพื่อเข้าสู่การกำหนดขอบเขตในการพิมพ์

 5. คลิ๊กแล้วลากเม้าส์เพื่อตีกรอบสำหรับเป็นขอบเขตในการพิมพ์

6. เมื่อกลับมาหน้าต่างเดิม จะเห็นในช่อง Preview ว่ามีขีดแดงทั้งสี่ด้าน แสดงว่าขนาดภาพที่เรากำหนดไว้เกินกว่าขนาดของกระดาษ  จะต้องลดขนาดภาพลง

7.  ลองกดปุ่ม Preview ดู โปรแกรมจะโชว์ภาพตัวอย่าง    (กด Esc เพื่อออกจากหน้านี้)

8. ที่ช่อง Plot scale  ให้ติ๊กตรงช่อง Fit to paper  โปรแกรมจะทำการขยายภาพจนเต็มกระดาษโดยอัตโนมัติ (ถ้าเอาไว้ดูเฉยๆก็ควรติ๊กไว้ จะได้ใช้กระดาษคุ้มหน่อย)


9. จะเห็นในช่อง Preveiw ว่าไม่มีขีดแดงแล้ว แสดงว่าไม่ล้นขอบกระดาษ   ลองตั้งค่าดูจะพิมพ์ในแนวนอนหรือแนวตั้ง  โดยเลือกที่ช่อง Drawing Orentation

10. ลองกด Preview ดูอีกรอบ จะเห็นว่าภาพที่กำหนดขอบเขตไว้อยู่ในกระดาษตามที่ตั้งค่าไว้แล้ว   ถ้าพอใจแล้วก็คลิ๊กขวาที่หน้านี้แล้วสั่ง Plot เพื่อให้เครื่อง Printer พิมพ์ออกมา


11.  เพิ่มเติม  เราสามารถกำหนดรูปแบบการพิมพ์ได้ ว่าจะเอาแบบสีหรือขาวดำ ดังภาพ

12. ถ้ากดปุ่มข้างๆจะขึ้นหน้าต่างนี้  กรณีนี้เราเลือกว่าเป็น Monochrome ก่อนแล้ว ซึ่งเป็นการพิมพ์แบบขาวดำให้เลือกในช่อง Plot styles ทุกสี

13. แล้วกำหนดที่ Lineweight ให้เป็น 0.000 mm  จะได้เส้นที่บางที่สุด


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://gonosis.exteen.com/20100621/print-cad

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

แจกคู่มือ Autocad 2011 ภาษาไทยระดับเบื้องต้น

คู่มือ Autocad 2011 ภาษาไทยระดับเบื้องต้น






วิธี download 
  1. คลิก! ลิงค์ด้านล่าง  
  2. รอเวลามุมขวาบนหมด  
  3. คลิกที่ SKIP AD มุมขวาบน
  4. ในบางไฟล์ อาจจะต้อง พิมพ์ตัวอักษร ตามรูปก่อน download






วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเขียนภาพไอโซเมตริก



     ภาพไอโซเมตริก ( Isometric ) คือภาพที่แสดงมุมเอียง 2 ด้าน โดยนิยมนั้นมักกำหนดเป็นมุม 30 องศาโดยที่เส้นที่เป็นองค์ประกอบของรูปทรงในแต่ละด้าน จะขนานกันไม่บรรจบกัน ทั้งนี้เพื่อลดความผิดเพี้ยนของขนาดและรูปร่างที่อาจเกิดขึ้นได้หากใช้การแสดงภาพแบบเหมือนจริงในรูปของเปอร์สเปคทีฟ ( Perspective )

    ก่อนที่เราจะทำการเขียนภาพแบบ Isometric เพื่อความสะดวกในการเขียนแบบเราต้องทำการกำหนดค่า 2 ค่าก่อน คือ
1.Isometric Snap        ใช้สำหรับการลากเส้นหรือเคลื่นย้ายเส้นในลักษณะไอโซเมตริก
2.Increment Angle      ช่วยให้เราสามารถลาดเส้นเป็นมุมอื่นได้นอกจาก 90 องศา

หลักการสร้างโมเดล
เริ่มจากฐานของวัตถุ แล้วไล่ไปด้านบน โดยมีขี้นตอนดังนี้









สำหรับภาพไอโซเมตริกมักใช้ในงานเขียนแบบเชิงเทคนิค เพราะว่าทำให้เข้าใจแบบได้ง่าย และให้รายละเอียดได้มากกว่าการแสดงภาพแบบหน้าตรง หรือรูปด้าน และอีกอย่างก็คือ ภาพไอโซเมตริกนั้นสร้างง่ายกว่าภาพเปอร์สเปคทีฟ.....


วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แปลงไฟล์รูปภาพ ให้เป็นไฟล์ CAD


แปลงไฟล์รูปภาพ ให้เป็นไฟล์ CAD


 วันนี้ได้นำความรู้มาบอกเพื่อนๆบางคนนะครับที่ยังไม่รู้วิธีการแปลงไฟล์ภาพเป็น CAD กันครับ โดยบางคนอาจเคยเกิดอาการเซ็งที่ต้องมานั่งขั้นแบบ CAD จากรูปภาพลายเส้นต่างๆทั้งๆที่ไม่ได้เป็นภาพที่ซับซ้อนมากมายนัก....
   โดยการแปลงรูปภาพง่ายๆ ที่ผมเคยลองทำด้วยตัวเอง อันนี้ต้องออกตัวก่อนนะครับว่าพึ่งลองทำ และอาจจะยังไม่ชำนาญนัก... โดยวิธีการนั้นสามารถทำได้โดยเปิดไฟล์รูปภาพจาก Illustrator
จากนั้นทำการแตกไฟล์ภาพ โดยคลิ๊กที่ Live Trace แล้วคลิกที่ Expand
จากนั้นให้ทำการ Expord เป็นไฟล์ .DWG แล้วทำการเปิดไฟล์ CAD ขึ้นมาก็จะได้ไฟล์ภาพที่แปลงเป็น CAD ครับ จากนั้นก็ทำการปรับแต่งตามต้องการครับ ( ผมแนะนำว่าวิธีนี้ควรเป็นภาพลายเส้นหรือตัวหนังสือจะเหมาะมากครับ )

  




สำหรับเพื่อนๆคนไหนที่มีวิธีการอื่นๆ..ที่ดีกว่านี้ก็ลองมาแชร์เป็นความรู้กันบ้างนะครับ.....ต้องขอออกตัวก่อนเลยว่าพึ่งลองทำครับ......